ลักษณะโรคใบด่างมันสำปะหลัง

โรคใบด่างมันสำปะหลังเกิดจากเชื้อไวรัส cassava mosaic virus  ซึ่งโรคนี้ระบาดในประเทศกัมพูชา ยังไม่แพร่ระบาดในประเทศไทย ซึ่งโรคนี้แพร่ระบาดจากการนำท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคมาปลูกต่อ และมีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะโดยสามารถดูดน้ำเลี้ยงจากต้นมันที่เป็นโรคแล้วนำไปปล่อยต้นอื่นได้ ซึ่งอาการของโรคใบด่างมันสำปะหลังใบจะลดรูป แคระแกร็น ยอดหงิก ซึ่งบางครั้งอาการยอดหงิกที่เกิดจากการเข้าทำลายของเพลี้ยแป้ง และอาการข้างเคียงของการโดนสารกำจัดวัชพืชจะมีอาการคล้ายโรคใบด่างมันสำปะหลัง ซึ่งอาจทำให้ผู้ปลูกมันสำปะหลังเข้าใจผิดได้ ซึ่งหากผู้ปลูกมันสำปะหลังท่านใดพบเห็นอาการลักษณะตามภาพประกอบและไม่แน่ใจว่าเป็นโรคดังกล่าวหรือไม่สามารถแจ้งและประสานสำนักงานเกษตรอำเภอที่ท่านอยู่ หรือแจ้งทางศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ประจำจังหวัดได้

2 ความเห็นบน “ลักษณะโรคใบด่างมันสำปะหลัง”

  1. ต้นมันสำปะหลัง​อายุประมาณ​4เดือนเป็นโรคใบด่าง​ มีวิธีรักษา​ให้โรคหายโดยที่ไม่ต้องถอนทิ้งใหมครับ

  2. มันสำปะหลังใบด่างไม่มียารักษาโดยตรง เนื่องจากเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไรรัส CMD การป้องกันรักษาที่ดีที่สุดคือ 1.ไม่ควรใช้ท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นที่เป็นโรคใบด่างมันสำปะหลัง หรือจากแหล่งซื้อที่ไม่รู้ที่มา เนื่องจากเชื้อไวรัสสามารถแพร่กระจายไปทางท่อนพันธุ์
    2. ให้สังเกตยอดและใบมันสำปะหลังว่ามีไข่ ตัวอ่อน หรือตัวเต็มวัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบในแปลงหรือไม่ หากพบให้รีบกำจัดโดยการใช้ชีวภัณฑ์ (เชื้อราบิววาเรีย) หรือสารเคมีได้แก่ อิมิดาคลิพริดอัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดโนทีฟูแรน อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไทอะมิทอกแซมอัตรา 12 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นป้องกันไม่ให้แมลงหวี่ขาวยาสูบนำเชื้อจากต้นที่เป็นโรคแพร่กระจายไปยังต้นอื่นๆ
    3. ให้หมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เป็นโรคให้รีบตัดทำลายทิ้งนอกแปลง

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น