ประวัติความเป็นมา

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม

ข้อมูลทั่วไป

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อ วันที่ 10 พฤศจิกายน 2510 ที่บ้านอุปราช หมู่ที่ 3 ตำบลท่าสองคอน อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม พื้นที่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 154 เมตร สภาพพื้นที่มีลูกคลื่นบางส่วน มีพื้นที่ทั้งหมด 325 ไร่ โดยแบ่งเป็นแปลงปลูกพืชไร่ 246 ไร่ อาคารบ้านพักถนนและอื่นๆ 79 ไร่

พื้นที่รับผิดชอบ

รับผิดชอบพื้นที่ 2 จังหวัด คือ มหาสารคามและบุรีรัมย์ รวมพื้นที่รับผิดชอบ 10.3 ล้านไร่

อัตรากำลัง

ข้าราชการ 8 อัตรา ลูกจ้างประจำ 3 อัตรา พนักงานราชการ 25 อัตรา และแรงงานจ้างเหมาเปลี่ยนแปลงไปตามฤดูกาล

หน้าที่ความรับผิดชอบ

พัฒนาและทดสอบเทคโนโลยีการเกษตร และให้บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตในพื้นที่รับผิดชอบให้แก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร ภาคเอกชน และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช/ไหม

ภารกิจที่ได้รับมอบหมายและผลการดำเนินงาน ปี 2553

ผลผลิตที่ 1 วิจัยและพัฒนาด้านพันธุ์พืชและเทคโนโลยีทางการเกษตร

1.1 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อผลิตเอทานอล จำนวน 3 แปลงทดลอง

1.2 โครงการวิจัยและพัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังเพื่อเป็นอาหารสัตว์ จำนวน 4 แปลงทดลอง

1.3 การพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง จำนวน 7 แปลง           ทดลอง

1.4 การประเมินศักยภาพทางการผลิตและความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ในการผลิตสบู่ดำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการดูแลรักษา

1.5 โครงการปรับปรุงพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมในเขตต่าง ๆ จำนวน 2 แปลงทดลอง

1.6 การพัฒนาระบบการผลิตและเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตอ้อย จำนวน 10 แปลงทดลอง

ขณะนี้ได้ทำการปลูกไปแล้วบางงานทดลอง ส่วนอีกบางงานทดลองจะทำการปลูกในช่วงต้นฝน ปี 2550

ผลผลิตที่ 2 พันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต

– ผลิตถั่วลิสงพันธุ์ไทนาน 9 ขอนแก่น 5 และขอนแก่น 6 จำนวน 17 ตัน ผลิตในฤดูแล้งปี 2550 ได้ผลผลิต จำนวน 10 ตัน ซึ่งจะต้องผลิตเพิ่มเติมให้ได้ตามเป้าหมายในฤดูฝน ปี 2550 นี้

– อ้อยโรงงานพันธุ์ 94-2-200 จำนวน 1,000,000 ท่อน ทำการปลูกในต้นฝนปี 2550 จำนวน 11 ไร่ และจะปลูกในฤดูฝน ปี 2550 อีก จำนวน 20 ไร่

– มันสำปะหลัง จำนวน 250,000 ท่อน ได้ทำการปลูกไปแล้ว จำนวน 6 ไร่ และจะทำการปลูกให้ครบตามแผนอีก จำนวน 14 ไร่ ในฤดูฝน ปี 2550 นี้

– ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ สุโขทัย 1 เป้าหมายการผลิต จำนวน 2 ตัน สามารถผลิตได้ 1,080 กิโลกรัม จะต้องผลิตเพิ่มเติมในฤดูฝน ปี 2550 ให้ได้ตามเป้าหมายการผลิต

ผลผลิตที่ 3 สินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

กิจกรรมที่ 1 จดทะเบียน ตรวจสอบรับรองแหล่งผลิตพืช โรงงานแปรรูป โรงรม (ฟาร์ม/โรงงาน)

  • แผนการตรวจสอบและรับรองแหล่งผลิตพืชตามระบบ GAP ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม จำนวน 1,431 แปลง โดยมีเป้าหมายตรวจติดตาม  จำนวน  406  แปลง  ตรวจรับรองจำนวน 482  แปลง และบูรณาการร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 543 แปลง

กิจกรรมที่  2   การตรวจปัจจัยการผลิต/ศัตรูพืช/ออกใบรับรองและควบคุมกำกับตาม พ.ร.บ.

  • ปีงบประมาณ 2566 มีเป้าหมายตรวจร้านค้า  จำนวน 150 ร้าน  เก็บตัวอย่าง

ปัจจัยการผลิต 9 ตัวอย่าง  และออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ทั้ง 3 ฉบับ  จำนวน 170 ฉบับ  ขณะนี้สามารถออกใบอนุญาตตาม พ.ร.บ. ได้แล้ว 107 ฉบับ

ผลผลิตที่ 4 เกษตรกรได้รับการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพ

ปี 2550  ประกอบด้วย 2 โครงการ ดังนี้

  1. โครงการฟาร์มตัวอย่างในพระองค์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนารถ

บ้านกำพี้  ตำบลกำพี้  อำเภอบรบือ  จังหวัดมหาสารคาม  ศบป.มหาสารคาม  เป็นหน่วยงานสนับสนุน  โดยมี 4 กิจกรรมที่ต้องดำเนินการ คือ ผลิตมันสำปะหลังพันธุ์รับประทาน  พื้นที่ 2 ไร่  ผลิตอ้อยคั้นน้ำ พื้นที่ 6 ไร่ และการฝึกอบรมเกษตรกร  จะดำเนินการในไตรมาสที่ 3

  1. โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่  มีแผนการออกปฏิบัติงานในพื้นที่ ดังนี้

2.1  โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ ในพระราชานุเคราะห์  สมเด็จพระบรมโอรสาธิ

ราชฯ สยามกุฎราชกุมาร

2.2 โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่  ในพระราชานุเคราะห์ เนื่องในวันคล้ายวันประสูติพระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าธีปังกรรัศมีโชติ

2.3  โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่  ในสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนารถ

2.4  โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่  ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

2.5  โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่  ร่วมกับจังหวัดมหาสารคาม

มีเป้าหมายในการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพให้เกษตรกร  จำนวน 112 ราย โดยจะเริ่มดำเนินการในไตรมาสที่ 3

รายงานผลการดำเนินงานโครงการ  GAP  พืช

งบประมาณปี 2550  ศูนย์บริการวิชาการด้านพืชและปัจจัยการผลิตมหาสารคาม ได้รับแผนการตรวจสอบและรับรองแหล่งผลิตพืชตามระบบ GAP ในพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม รวม 1,431 แปลง แยกเป็น 3 ส่วน  ตรวจติดตาม  406  แปลง  ตรวจรับรอง  482  แปลง  และการบูรณาการร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม  543  แปลง  ผลการดำเนินงาน มีดังนี้

  1. ตรวจติดตาม

– พริก ฤดูแล้ง  ตรวจรับรอง 27 แปลง  ฤดูฝน กำลังตรวจรับรอง 1 แปลง

– มะม่วง ตรวจรับรอง  27  แปลง  ถั่วลิสง ฤดูแล้ง ตรวจรับรอง 44  แปลง  ฤดูฝน กำลังตรวจรับรอง 12 แปลง

– ข้าวโพดหวาน ตรวจรับรอง  14  แปลง

– รวมทั้งหมด  130  แปลง  ส่วนพืชฤดูฝนอาจมีแปลงเพิ่มเติมได้

  1. ตรวจรับรอง

– พริก ฤดูแล้ง  ตรวจรับรอง  13  แปลง  ฤดูฝนกำลังตรวจรับรอง  53  แปลง

–  ถั่วลิสง ฤดูแล้ง  ตรวจรับรอง 25  แปลง  ฤดูฝน กำลังตรวจรับรอง  23  แปลง  – ข้าวโพดหวาน ฤดูแล้ง ตรวจรับรอง  5  แปลง

– รวมทั้งหมด  119  แปลง  ส่วนพืชฤดูฝนอาจมีเพิ่มเติมได้

  1. การบูรณาการร่วมกับสำนักงานเกษตรจังหวัด จำนวน  543  แปลง  ได้ประสานงาน สำนักงานเกษตรจังหวัดมหาสารคาม ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนฝึกอบรมเจ้าหน้าที่  คาดว่าประมาณเดือน มิถุนายน  2550  จะได้พืช และจำนวนแปลงตามเป้าหมาย  และจะสรุปส่งรายชื่อเกษตรกรให้ ศบป.มหาสารคาม  ตรวจรับรองประมาณเดือน กรกฎาคม  2550

          ปัญหา อุปสรรคทำให้ขาดเป้าหมาย

  1. เกษตรกรเลิกปลูก  โดยมีการปลูกพืชอื่นทดแทน
  2. ขาดแหล่งน้ำ
  3. ขาดเมล็ดพันธุ์